:
ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ : 054-452776 อีเมล์ : saraban@romyen.go.th

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 

 

1. ด้านกายภาพ
                 1.1  ที่ตั้ง

                 องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ. 2537  เมื่อวันที่  19   มีนาคม  2539  ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง  ตั้งอยู่เลขที่  172  หมู่ 7  ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ  จังหวัดพะเยา  อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเชียงคำ  ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงคำ  ประมาณ  8  กิโลเมตร  อยู่ห่างจากจังหวัดพะเยา ประมาณ  98  กิโลเมตร

 1.2  ลักษณะภูมิประเทศ

                 องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น มีลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบ หุบเขา และภูเขาเป็นพื้นที่ชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำญวน ลำน้ำร่องอ่วม ลำน้ำร่องส้าน สภาพพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูกและเหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนและเป็นแหล่งท่องเที่ยว

  • พื้นที่ราบ ได้แก่ หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 12, 13, 14, 15, 17, 18, 20, 21
  • พื้นที่ตั้งเชิงเขา ได้แก่ หมู่ที่ 9, 10, 11, 16, 19, 22

 1.3  ลักษณะภูมิอากาศ

       เป็นแบบมรสุมมี  3  ฤดู  คือ

  • ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม  -  มิถุนายน  อากาศจะร้อนอบอ้าว เฉลี่ยโดยทั่วไป ในช่วง      ฤดูร้อน  35 - 38  องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม  -  ตุลาคม  มีฝนตกชุกหนาแน่น เฉลี่ย 1,045.23  มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่  เดือนพฤศจิกายน  -  กุมภาพันธ์  อากาศหนาวถึงหนาวจัด  อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง  16  องศาเซลเซียส  ลงไปถึง  6  องศาเซลเซียส 

 1.4  ลักษณะดิน

                  ลักษณะดินโดยทั่วไปของตำบลร่มเย็น  สามารถแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศออกเป็นลักษณะ

ใหญ่ ๆ ได้  2  ลักษณะ  ดังนี้

1. ดินภูเขา  เป็นดินตื้นที่เกิดจากสลายตัวของหินภูเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินลักษณะนี้แพร่กระจายอยู่ทั่วตำบลในหมู่บ้านที่เป็นเชิงเขา เนื่องจากตำบลร่มเย็นมีหมู่บ้านที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา  บางหมู่บ้านด้วย

2. ดินตะกอนเก่า  เป็นดินที่เกิดในลักษณะเดียวกับดินเหนียวเช่นกัน  แต่มีการสะสมตัวของอนุภาคดินในระยะเวลาที่น้อยกว่าดินเหนียว  แต่นานกว่าดินค่อนข้างใหม่  และลักษณะดินก็เป็นดินร่วนหรือดินทราย เช่นเดียวกับดินค่อนข้างใหม่  ดังนั้นจึงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ ดินตะกอนเก่านี้จะพบอยู่ในบริเวณที่ราบขั้นบันไดของตำบล  เป็นส่วนใหญ่

                   1.5  ลักษณะของแหล่งน้ำ

                   เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมีทั้งแม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำญวน  ลำน้ำน้ำสา  ลำน้ำร่องอ่วม  ลำน้ำร่องส้าน และลำน้ำสาขาห้วย,  ลำธาร, แม่น้ำ, ลำคลอง,บึง  และอื่น ๆ  ที่ไหลกระจัดกระจายตามพื้นที่  มีการสร้างฝาย อ่างเก็บน้ำ  เช่น  ฝายโป่งจี้อ่างเก็บน้ำร่องส้าน  อ่างเก็บน้ำน้ำสา  อ่างเก็บน้ำห้วยสา  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการอุปโภค  บริโภค  การเลี้ยงสัตว์  การเพาะปลูก การเกษตรต่าง ๆ  ของประชากรในพื้นที่

                   1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

                   เป็นป่าไม้ผลัดใบ  เช่น  ป่าเต็งรังพบทั่วไป  กับป่าเบญจพรรณ แต่แห้งแล้งกว่าเนื่องจากดินอุ้มน้ำน้อยพรรณไม้มักทนแล้ง และทนไฟ เช่น  ไม้เต็งรัง  เหียง  พลวง  ป่าเบ็ญจพรรณพบตามที่ราบและเนินเขาพรรณไม้ที่พบ เช่น ไม้สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง ป่าหญ้าเกิดจากธรรมชาติอื่นที่ถูกทำลายดินมีสภาพเสื่อมโทรม หญ้าที่พบมีหญ้าคา แฝก อ้อ แขม ป่าดิบเขา ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูง

 

2.  ด้านการเมือง/การปกครอง

                   2.1 เขตการปกครอง

     องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น มีจำนวน 278.759 ตารางกิโลเมตร หรือ 174,224 ไร่  มีจำนวน 22 หมู่บ้าน 

อาณาเขตติดต่อขององค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  มีดังนี้

          ทิศเหนือ           ติดกับ  เขตตำบลทุ่งกล้วย   อำเภอภูซาง

ทิศใต้               ติดกับ  เขตเทศบาลตำบลบ้านทราย,ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ

ทิศตะวันออก     ติดกับ  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทิศตะวันตก       ติดกับ  เขตตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ และตำบลสบบง   อำเภอภูซาง

พื้นที่ตำบลร่มเย็น  แยกรายหมู่บ้าน

                     หมู่ที่ 1 พื้นที่  1.129 ตารางกิโลเมตร       หมู่ที่ 2  พื้นที่  0.659 ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 3 พื้นที่  2.490 ตารางกิโลเมตร       หมู่ที่ 4  พื้นที่  3.641 ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 5  พื้นที่ 0.381 ตารางกิโลเมตร       หมู่ที่ 6  พื้นที่  0.834 ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 7  พื้นที่  5.702 ตารางกิโลเมตร      หมู่ที่ 8  พื้นที่  1.728  ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 9 พื้นที่  20.126 ตารางกิโลเมตร      หมู่ที่ 10 พื้นที่  20.418 ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 11 พื้นที่  7.785 ตารางกิโลเมตร      หมู่ที่ 12 พื้นที่  14.542 ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 13 พื้นที่  36.623 ตารางกิโลเมตร    หมู่ที่ 14 พื้นที่  15.460 ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 15 พื้นที่  4.167 ตารางกิโลเมตร      หมู่ที่ 16 พื้นที่  66.938 ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 17 พื้นที่ 0.991 ตารางกิโลเมตร       หมู่ที่ 18 พื้นที่  3.917 ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 19 พื้นที่ 25.646 ตารางกิโลเมตร     หมู่ที่ 20 พื้นที่  1.562 ตารางกิโลเมตร

                     หมู่ที่ 21 พื้นที่ 9.386 ตารางกิโลเมตร       หมู่ที่ 22 พื้นที่ 10.000 ตารางกิโลเมตร          

 **  (พื้นที่บางหมู่บ้าน รวมพื้นที่ป่าไม้ด้วย)

                          ตำบลร่มเย็น  มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น  22  หมู่บ้าน  จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง    8,390  คน

 

3. ประชากร

                   3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

                          มีประชากรทั้งหมด 12,257 คน  ชาย จำนวน 6,148 คน หญิง จำนวน 6,109 คน

 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

(ครัวเรือน)

จำนวนประชากร

เพศ

ชาย

หญิง

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

บ้านร้อง

บ้านหนอง

บ้านหนองป่าแพะ

บ้านโจ้โก้

บ้านสบสา

บ้านคุ้ม

บ้านใหม่ร่มเย็น

บ้านร่องส้าน

บ้านปางถ้ำ

บ้านผาแดงล่าง

บ้านผาแดงบน

บ้านทุ่งรวงทอง

บ้านประชาภักดี

บ้านห้วยสา

บ้านเกษตรสมบูรณ์

บ้านต้นผึ้ง

บ้านคุ้มเจริญ

บ้านสบสา

บ้านน้ำยวนพัฒนา

บ้านร่องส้าน

บ้านประชาพัฒนา

บ้านห้วยเดื่อดอยนาง

231

192

238

184

211

185

231

284

144

80

47

259

311

115

204

133

169

166

90

112

166

46

 

451

522

633

532

583

482

602

1,198

338

328

160

702

1,291

347

485

515

504

585

374

422

911

292

 

220

250

341

274

275

224

285

600

166

172

87

364

657

191

251

267

246

286

185

205

457

145

231

272

292

258

308

258

317

598

172

156

73

338

634

156

234

248

258

299

189

217

454

147

 

รวม

3,730

12,257

6,148

6,109

 

               (ข้อมูลประชากร  ณ  เดือนกันยายน  พ.ศ.2559   ที่มา :สำนักบริหารการทะเบียนอำเภอเชียคำ)

                   3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

                       ช่วงเด็กปฐมวัย         จำนวน  934  คน

                       ช่วงเด็กวัยเรียน         จำนวน  1,430  คน

                       ช่วงวัยรุ่น/นักศึกษา   จำนวน  1,294  คน

                       ช่วงวัยทำงาน           จำนวน  6,904  คน

                       ช่วงผู้สูงอายุ            จำนวน  1,488  คน

 

4. สภาพทางสังคม

                   4.1 การศึกษา

-นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น      จำนวน          292  คน

-นักเรียน ระดับประถมศึกษา                    จำนวน        1,038  คน

-นักเรียนระดับอนุบาล                            จำนวน          273  คน

                     มีสถานศึกษา จำนวน    6     แห่ง

- เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน  1  แห่ง  คือ

    โรงเรียนบ้านใหม่ร่มเย็น

  • เปิดสอนเฉพาะระดับประถมศึกษา  จำนวน 2  แห่ง  คือ

1.  โรงเรียนบ้านโจ้โก้

2.  โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง

  • เปิดสอนระดับประถมศึกษา –มัธยมศึกษาปีที่ 3   จำนวน 3  แห่ง  คือ

1.  โรงเรียนบ้านสบสา

2.  โรงเรียนบ้านร่องส้าน

3.  โรงเรียนบ้านปางถ้ำ

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำนวน     1     แห่ง

1.  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลร่มเย็น อบต.ร่มเย็น

ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน     4     แห่ง

  1. ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองห้า
  2. ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านผาแดงบน
  3. ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงบ้านห้วยเดื่อ
  4. ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม้ฟ้าหลวงบ้านห้วยปุ้ม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน     5    แห่ง  จำนวนเด็กเล็กทั้งหมด  347  คน

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลร่มเย็น          หมู่ 7
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยปุ้ม           หมู่ 13
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยเดื่อ          หมู่ 13
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปางถ้ำ            หมู่ 9
  5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านต้นผึ้ง             หมู่ 16

 

                   4.2 สาธารณสุข

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี  มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง  โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน  ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน  โรคไข้เลือดออก  มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล  ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี  การแก้ไขปัญหา คือ องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่  ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง  ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี 

                     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ประจำตำบล  3  แห่ง   ได้แก่

                             1.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มเย็น

                             1.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหนองป่าแพะ

                             1.3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพปางถ้ำ

                    ศูนย์บริการสาธารณสุข    1    แห่ง    ได้แก่

                             ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนบ้านต้นผึ้ง

         4.3  อาชญากรรม

                     ตำบลร่มเย็น  ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น  แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินของประชาชน  ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว  วิธีการแก้ไขปัญหาที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด  คือ  ได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ  ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน  ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ  ผลเสียหาย  และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท  การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ  ผู้นำ  อปพร.  เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง  จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

         4.4  ยาเสพติด

                     ปัญหายาเสพติดในชุมชนของตำบลร่มเย็น  พบว่ายังมีปัญหาอยู่  เนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน  ยังพบผู้ค้า  และผู้เสพยาเสพติดอยู่  ซึ่งมีสถิติผู้เสพยาเสพติด  จำนวน  30  รายเข้ารับการบำบัด  จำนวน  22  ราย  เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ  จำนวน  22  ราย  องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  ได้ประสานขอความร่วมมือกับทางผู้นำชุมชน  ประชาชน  หน่วยงานต่างๆ  ช่วยสอดส่องดูแล  และรณรงค์การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส  การฝึกอบรมให้ความรู้  ให้กับประชาชน  และโรงเรียนในพื้นที่

          4.5  การสังคมสังเคราะห์

                    องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  ได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้

1.  ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ 

2.  รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

3.  ประสานการทำบัตรผู้พิการ

4.  จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน  ยากไร้  รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาส   

5.  จัดทำโครงการก่อสร้าง/ปรับปรุง/ซ่อมแซม บ้านผู้ด้อยโอกาส

 

 

5.  ระบบบริการพื้นฐาน

          ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  มีระบบบริการพื้นฐาน  ดังนี้

                    5.1  การคมนาคมขนส่ง

                      ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  มีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ที่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ร้อยละ  70  เป้าหมาย  ต้องการให้ถึงร้อยละ  100  โดยผู้บริหารมีนโยบายที่จะดำเนินการก่อสร้างถนน

คอนกรีตเสริมเหล็กทุกสาย  ปัญหาคือ องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากพื้นที่ยังไม่เป็นที่สาธารณะ  จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อต้องเป็นที่สาธารณะ  ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น         มีเส้นทางคมนาคม  ดังนี้

 การคมนาคม  การจราจร

              เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  และพื้นที่ใกล้เคียง   มีดังนี้

                              1.  ทางหลวงแผ่นดิน  

                                      -  หมายเลข      1210   สายตำบลร่มเย็น – ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง

                              2.  สะพาน    จำนวน   6    แห่ง

        3.  ถนน

              -  ถนนลาดยางที่ติดต่อกับตำบลอื่น และอำเภออื่น              3      สาย

-  ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน                 6       สาย

-  ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่เชื่อมระหว่างหมู่บ้าน                 2      สาย

-  ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ภายในตำบล                          44      สาย

-  ถนนลูกรังภายในหมู่บ้าน                                           33      สาย

                    5.2  การไฟฟ้า

                    การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน  ส่วนบ้านที่ปลูกสร้างใหม่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าขยายเขตไม่ถึง  จะเป็นบ้านสวนของชาวสวน  ที่มีจำนวนไม่มากนัก  แต่ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือไฟฟ้าสาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด  เนื่องจากตำบลร่มเย็น  มีพื้นที่กว้างขวาง  และมีจำนวนหลายหมู่บ้าน  จึงไม่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่   การแก้ปัญหาคือ  ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ  หน่วยงานเพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่    และหาวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร  ทั้งนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว  และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน

           1.  หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้า                                            21      หมู่บ้าน

2.  หมู่บ้านที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์                       4       หมู่บ้าน

                     5.3 การประปา

                     การประปา  องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  ไม่มีกิจการประปาเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลเอง  แต่ทางหมู่บ้านต่างๆ  ได้มีประปาเป็นของหมู่บ้านและบริหารจัดการเอง  ทั้งระบบประปาหมู่บ้าน  และประปาภูเขา   ซึ่งสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน  ของแต่ละหมู่บ้าน  ปัญหาคือ  มีน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง  สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อประปาเก่าเกิดการตกตะกอนของน้ำ และแหล่งน้ำในการผลิตประปาตื้นเขิน ทำให้ในช่วงฤดูแล้งน้ำแห้งเขิน  น้ำประปาจึงไม่เพียงพอใช้สำหรับบางหมู่บ้าน   ต้องขอน้ำใช้จากองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการคือต้องไปซื้อน้ำประปาในพื้นที่ใกล้เคียง  เพื่อมาให้บริการประชาชนในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น  ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด   และการพิจารณาโครงการก่อสร้างประปาในหมู่บ้าน  และซ่อมแซมระบบประปาที่ชำรุด    เพื่อให้ความช่วยเหลือ  และตอบสนองความต้องการของประชาชนต่อไป

                      5.4  โทรศัพท์

1.  จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่             จำนวน    4    สาย                         

2.  หอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ  100  ของพื้นที่

                      5.5  ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

                      1.  ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ 

                      2.  ไม่มีท่ารถขนส่ง

ครุภัณฑ์สำคัญที่ใช้ในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  คือ

                     1.  รถกระเช้าไฟฟ้า                                              จำนวน  1  คัน

                     2.  รถดับเพลิง                                                   จำนวน  1  คัน

                     3.  รถตู้รับ – ส่งเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด       จำนวน  1  คัน

                     4.  รถบรรทุกขยะ                                               จำนวน  1  คัน

                     5.  รถบรรทุกอเนกประสงค์                                     จำนวน  1  คัน

                     6.  รถตักหน้า ขุดหลัง                                           จำนวน  1  คัน

                     7.  รถยนต์ส่วนกลาง                                            จำนวน  3  คัน

          8.  รถมอเตอร์ไซด์ส่วนกลาง                                     จำนวน  3  คัน

 

6. ระบบเศรษฐกิจ

                   6.1  การเกษตร

        ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  ร้อยละ  80  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม    ได้แก่

1. ทำนา                             1,270   ครัวเรือน         ร้อยละ  37.44

2. ทำสวน                   656   ครัวเรือน         ร้อยละ  19.33

3. เลี้ยงสัตว์                    86  ครัวเรือน         ร้อยละ  2.5

4. รับราชการ                  49  ครัวเรือน         ร้อยละ  1.44

5. ทำไร่ข้าวโพด              112   ครัวเรือน         ร้อยละ  0.33

6. ทำสวนลำไย                69  ครัวเรือน         ร้อยละ  3.30

7. ทำไร่                      579   ครัวเรือน         ร้อยละ  17.06

8. ค้าขาย                      65  ครัวเรือน         ร้อยละ  1.91

9. ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม        20  ครัวเรือน         ร้อยละ  0.59

                     6.2  การประมง

                   (ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็นไม่มีการประมง)

                   6.3  การปศุสัตว์

                    เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น  การเลี้ยงไก่  เป็ด  โค  สุกร  กระบือ

                   6.4  การบริการ

         โรงแรม                     -         แห่ง

         ร้านอาหาร                 -         แห่ง

         โรงภาพยนตร์              -         แห่ง

        สถานีขนส่ง                -         แห่ง

        ร้านเกมส์                   5        แห่ง

                  6.5  การท่องเที่ยว

                   ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ  คือ  ถ้าผาแดง  ดอยผาขาม  จุดชมวิวภูอานม้า  รอยพระพุทธบาทดอยกู่  บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ดอยผาขาม  อ่างเก็บน้ำร่องส้าน  อ่างเก็บน้ำห้วยสา  โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  (บ้านหนองห้า  ตำบลร่มเย็น  อำเภอเชียงคำ  จังหวัดพะเยา)   และได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน  เช่น  การจัดงานประเพณีต่างๆ  ของชนเผ่า

                  6.6 อุตสาหกรรม

                   ไม่มี             

                  6.7  การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

การพาณิชย์

  1. สถานีบริการปั๊มน้ำมัน                        8      แห่ง
  2. ร้านค้า                                           69      แห่ง
  3. ร้านขายอาหาร                               13      แห่ง
  4. ตลาดสด                                       3        แห่ง
  5. โรงสีข้าว                                       26      แห่ง
  6. อู่ซ่อมรถ                                       7        แห่ง
  7. ร้านเสริมสวย                                 3        แห่ง
  8. ร้านถ่ายเอกสาร                              2        แห่ง

กลุ่มอาชีพ  จำนวน 19  กลุ่ม

1.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ ม.5

2.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงสุกร ม.7

3.  วิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ด บ้านหนอง ม.2

4.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้า บ้านหนอง ม.2

5.  วิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนาผลผลิต ต.ร่มเย็น

6.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้า  และถักโครเชต์นิตติ้ง

7.  วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟบ้านหนองห้า

8.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงโค ม.12

9.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสุรากลั่นชุมชน ต.ร่มเย็น

10.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสบสาพัฒนาเกษตร

11.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ชาวเขาแปรรูป

12.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพ ม.5

13.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคนม ม.5

14.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงกบ-เลี้ยงปลา

15.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรทำสวน ม.5

16.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไหมบ้านร่องส้าน ม.20

17.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเสรีทองการสุรา ม. 12

18.  วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตลำไยคุณภาพ ต.ร่มเย็น

19.  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคขุน  บ้านปางถ้ำ ม.9

                   6.8  แรงงาน

                   จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชากรที่มีอายุ  15 – 60  ปี  ซึ่งอยู่ในวัยใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร  บางส่วนไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่  รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ  ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม  บริษัท  ห้างร้านใหญ่ๆ  เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานนอกฤดูเก็บเกี่ยว  ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

 

7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

                   7.1  ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

                   จำนวนหมู่บ้านมีทั้งหมด  22  หมู่บ้าน  จำนวนครัวเรือน  3,692  ครัวเรือน

                   7.2  ข้อมูลด้านการเกษตร

ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ร้อยละ  87   ได้แก่

1. ทำนา                             1,270   ครัวเรือน         ร้อยละ  37.44

2. ทำสวน                              656   ครัวเรือน         ร้อยละ  19.33

3. เลี้ยงสัตว์                             86  ครัวเรือน         ร้อยละ  2.5

4. รับราชการ                            49  ครัวเรือน         ร้อยละ  1.44

5. ทำไร่ข้าวโพด                   112   ครัวเรือน         ร้อยละ  0.33

6. ทำสวนลำไย                        69  ครัวเรือน         ร้อยละ  3.30

7. ทำไร่                               579   ครัวเรือน         ร้อยละ  17.06

8. ค้าขาย                                65  ครัวเรือน         ร้อยละ  1.91

9. ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม             20  ครัวเรือน         ร้อยละ  0.59

         7.3 แหล่งน้ำตามธรรมชาติ

1.  แม่น้ำญวน             จำนวน   1  สาย

2.  ลำร่องอ่วม             จำนวน   1  สาย

3.  ลำน้ำร่องส้าน         จำนวน   1  สาย

4.  ลำน้ำน้ำสา            จำนวน   1  สาย

5.  น้ำตกภูอานม้า         จำนวน   1  แห่ง

                  7.4  ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)  

                   โดยส่วนมากใช้น้ำจากระบบประปาหมู่บ้าน และระบบประปาภูเขา  และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ  เช่น  ลำน้ำญวน  แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น  เช่น  ฝายโป่งจี้  อ่างเก็บน้ำน้ำสา  อ่างเก็บน้ำห้วยสา

 

8.  ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

                   8.1 การนับถือศาสนา

                   ประชาชนมีการนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์  และนับถือผีตามชนเผ่าต่างๆ

                   8.2  ประเพณีและงานประจำปี

                   ประเพณีงานลอยกระทง  ประเพณีงานปีใหม่เมือง  ประเพณีงานปีใหม่ม้ง  ประเพณีงานปีใหม่เมี่ยน  ประเพณีประเพณีตักบาทเทโวโรหณะ   ประเพณีตานข้าวร้อยขัน  ประเพณีบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำ

                   8.3  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

                   ประกอบด้วย  หมอทำขวัญ  หมอดิน  ผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง  ผ้าปักชาวเขาเผ่าเมี่ยน          ผ้าทอชาวอิสาน  เครื่องจักรสาน

                   8.4  สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

                   ผ้าปักเผ่าม้ง  ผ้าปักเผ่าเมี่ยน  ผ้าทอชาวอิสาน ผ้าถักโครเชต์นิตติ้ง  ยาดม  ตะกร้าสาน  เห็ดนางฟ้า  หน่อไม้  เห็ดพื้นบ้านตามฤดูกาล  ฯลฯ

 

9. ทรัพยากรธรรมชาติ

                    9.1 น้ำ

                         เป็นน้ำที่ได้มาจากธรรมชาติโดยแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำญวน  ลำน้ำสา  ลำร่องอ่วม  ลำน้ำร่องส้าน  และมีการสร้าง  ฝาย อ่างเก็บน้ำ เพื่อที่นำมาใช้ในการเกษตร  การอุปโภคบริโภค  และการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ

                    9.2  ป่าไม้

                         เป็นป่าไม้ผลัดใบ เช่นป่าเต็งรังพบทั่วไปกับป่าเบญจพรรณ  แต่แห้งแล้งกว่าเนื่องจากดินอุ้มน้ำน้อยพรรณไม้มักทนแล้ง และทนไฟ เช่นไม้เต็ง รัง  เหียง  พลวง  ป่าเบ็ญจพรรณพบตามที่ราบ  และเนินเขา พรรณไม้ที่พบ เช่น ไม้สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง

                    9.3  ภูเขา

                       เป็นเทือกเขาติดชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 440 - 1,548 เมตร โดยมียอดดอยผาหม่นเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำลาว น้ำหงาว น้ำเปื๋อย น้ำบง น้ำญวน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ

                     9.4  คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

                       พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น  มีปัจจัยที่เหมาะสมต่อการพัฒนาด้านการ  เกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เนื่องด้วยมีลำน้ำญวน ลำน้ำสา ฯลฯ ไหลผ่านพื้นที่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ  สามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภค  บริโภค  และการเกษตรได้  มีฝายโป่งจี้  อ่างเก็บน้ำน้ำสา  อ่างเก็บน้ำห้วยสา  อ่างเก็บน้ำร่องส้าน  สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้อย่างเพียงพอเป็นแหล่งต้นทุนด้านการบริหารจัดการน้ำ  แต่การที่มีลำน้ำญวนไหลผ่านจึงมักประสบกับปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูน้ำหลาก  พื้นที่การเกษตรบางส่วนเป็นที่ลุ่ม   ที่ดอน  หุบเขา  สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์  มีบึง  หนองน้ำ  สระ  ที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้กระจายอยู่ทุกหมู่บ้าน  แต่ส่วนใหญ่มีสภาพตื้นเขินและอยู่ในพื้นที่ดอนสูงยากต่อการผันน้ำเข้าสู่แหล่งกักเก็บน้ำแห่งอื่น  และพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน  ทรัพยากรทางธรรมชาติมีหลากหลายที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน  สามารถนำมาเป็นอาหาร  และของใช้ได้ เช่น ไม้บางชนิดสามารถนำมาจักรสานได้ บางชนิดเป็นทั้งสมุนไพรพื้นบ้าน  และยารักษาโรค ประชาชนสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน  ส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรให้ประเทศไทยเป็นคลังอาหารโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ